เทคโนโลยีฐานข้อมูล


เทคโนโลยีฐานข้อมูล(DATABASE TECHNOLOGY)

คลังข้อมูล (Data Warehose)
           เป็นแหล่งที่จัดเก็บหรือเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานขององค์การให้กับผู้ใช้ที่เกี่ยงข้อง โดยข้อมูลที่จัดเก็บต้องมีความสอดคล้อง และสามารถแบ่งแยกหรือนำรวมกันด้วยวิธีการที่หลากหลาย ดั้งนั้น คลังข้อมูลจึงมีความหมายรวมถึงชุดเครื่องมือหรือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้สอบถาม วิเคราะห์และนำเสนอสารสนเทศ ที่คำนึงถึงข้อมูลในคลังข้อมูลจัดเป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานขององค์การ
                                                   ประโยชน์ของคลังข้อมูล
           -ช่วยเพิ่มความรู้ให้กับผู้บริหาร  เนื่องจากข้อมูลที่จัดเก็บในคลังข้อมูลที่มาจากหน่วยงานทั้งภายในภายนอกองค์การ ดังนั้นจึงทำให้ผู้บริหารมีความรอบรู้ลูตากว้างไกลมากขึ้น
           -ช่วยเพิ่มศักยภาพในด้านการแข่งขันกับองค์การ การที่องค์การมีข้อมูลที่หลากหลายและเนื่องมาจากแหล่งที่มาต่างๆทำให้องค์การสามารถทราบถึงสถานภาพในการดำเนินธุรกิจของตนเองและของคู่แข่งได้เป็นอย่างดีสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาปรับปรุงหรือกำหนดกลยุทธ์กับการแข่งขันให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ในขณะนั้นได้เป็นอย่างดี
         -ช่วยเพิ่มความสามารถและศักยภาพด้านการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ถูกรวบรวมและจัดเก็บในคลังข้อมูล ซึ่งนำมาวิเคราะห์สภาพให้บริการแต่ละช่วงเวลาได้
        -สนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการตัดสินใจให้กับบริหารขององค์การ การตัดสินใจที่ถูกต้องและเหมาะสมจำเป็นต้องมีข้อมูลประกอบเสมอ การสร้างคลังข้อมูลช่วยห้ผู้บรหารสามารถรียกใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
       -ทำให้การดำเนินงานขององค์การเป็นไปอย่างราบรื่นและคล่องตัวมากขึ้น ไม่เพียงแต่การตัดสินใจเท่านั้นที่จำเป็นต้องใช้ข้อมูล แต่การดำเนินงานใดๆ ขององค์การล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับข้อมูลทั้งสิ้น ดังนั้นการสร้างคลังข้อมูลจึงช่วยสนับสนุนในการดำเนินงานขององค์การเป็นไปอย่างราบรื่นและเกิดความคล่องตัว
      -เพิ่มผลผลิตให้กับพนักงานที่ต้องการใช้ความรู้ การใช้คลังข้อมูลจะช่วยเพิ่มผลลิตให้กับพนักงานที่ต้องทำงานโดยใช้ความรู้ ทั้งนี้เนื่องจากพนักงานดังกล่าวสามารถเรียกใช้ข้อมูลที่จำเป็นต้องการปฏิบัติงานได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วขึ้น
-t1413871664
องค์ประกอบของ Data Warehouse
ฐานข้อมูลเชิงกายภาพขนาดใหญ่
คลังข้อมูลเชิงตรรกะ
Data martคือ  ข้อมูลย่อยที่แยกออกจากข้อมูลที่อยู่ใน Data  Warehouse  เพื่อนำไปใช้สนับสนุน(support)  การทำงานของแต่ละแผนก
ระบบ DSS และระบบ EIS
ลักษณะของ  Data Warehous  ประกอบด้วย
Subject-Oriented คือ การจัดกลุ่มข้อมูลตามประเด็นหลัก  ขององค์กร เช่น ข้อมูลลูกค้า  ข้อมูลสินค้า หรือข้อมุลยอดขาย
Integrated คือ การจัดข้อมูลต่างรูปแบบ (Format)  ให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน  สร้างความสอดคล้องของข้อมูลก่อนการนำเสนอ
Time-valiant คือ การเก็บข้อมูลไว้ในคลังเพื่อใช้งานในระยะเวลายาว  เช่น 5-10 ปีข้างหน้า  เพื่อทำนายแนวโน้มหรือเปรียบเทียบค่าของข้อมูลในแต่ละปี   ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้องอยู่เสมอ
None-Volatile คือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลจากคลังที่ไปดึงมา  ข้อมูลในคลังจะไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงในทันที  แต่จะเปลี่ยนแปลงในภายหลัง
ข้อดีของ Data Warehouse  ความคุ้มค่าของสารสนเทศที่อยู่ในคลังข้อมูล  ส่งผลดีต่อองค์กร ดังนี้
ให้ผลตอบแทนจากการลงทุนสูง
เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน
เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ
ข้อเสียของ Data Warehouse
        1.การกรองข้อมูลและเรียก (load) ข้อมูลเข้าสู่คลังใช้เวลานา
       2.แนวโน้มความต้องการข้อมูลมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลต่อพื้นที่ในการจัดเก็บ
       3.ใช้เวลาในการพัฒนาคลังข้อมูลนาน
       4.ระบบคลังข้อมูลมีความซับซ้อน ต้องใช้ความสามารถของบุคคล และเทคนิคสูง
แฟ้มข้อมูล
                ประเภทของแฟ้มข้อมูล (File Type) เราสามารถจำแนกแฟ้มข้อมูลออกตามลักษณะของข้อมูลที่เก็บบันทึกไว้และสามารถแบ่งแฟ้มข้อมูลออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

     1. แฟ้มข้อมูลหลัก (Master File) เป็นแฟ้มข้อมูลซึ่งเก็บข้อมูลที่สำคัญ เช่น แฟ้มข้อมูลประวัติ ลูกค้า (Customer master file) ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น แฟ้มข้อมูลประวัติผู้จัดส่งสินค้า (Supplier master file) แฟ้มข้อมูลสินค้าคงเหลือ (Inventory master file) แฟ้มข้อมูลบัญชี (Account master file) เป็นต้น ซึ่งแฟ้มข้อมูลหลักเหล่านี้เป็นส่วนประกอบของระบบงานบัญชี (Account system)
      2. แฟ้มรายการปรับปรุง (Transaction file) เป็นแฟ้มที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูลหลักที่มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน รายการที่เกิดขึ้นต้องนำไปปรับปรุงกับแฟ้มข้อมูลหลักเพื่อให้แฟ้มข้อมูลหลักมีข้อมูลที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา การปรับปรุงแฟ้มข้อมูลสามารถทำได้หลายอย่าง เช่น การเพิ่มรายการ (Add record) การลบรายการ (Delete record) และการแก้ไขรายการ (Edit)

               การจัดระเบียบแฟ้มข้อมูล (File organization) มีวิธีการจัดได้หลายประเภท เช่นการจัดระเบียบแฟ้มข้อมูล (File organization) มีวิธีการจัดได้หลายประเภท เช่น

    1. การจัดระเบียบแฟ้มข้อมูลแบบตามลำดับ (Sequential File organization) ลักษณะการจัดข้อมูลรายการจะเรียงตามฟิลด์ที่กำหนด (Key field) เช่น เรียงจากน้อยไปหามากหรือจากมากไปหาน้อยหรือเรียงตามตัวอักษร โดยส่วนมากมักจะใช้เทปแม่เหล็กเป็นสื่อในการเก็บข้อมูลซึ่งการเก็บโดยวิธีนี้จะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย

          ข้อดี                                                                     
1. เป็นวิธีที่เข้าใจง่าย เพราะการเก็บจะเรียงตามลำดับ
2. ประหยัดเนื้อที่ในการเก็บ และง่ายต่อการสร้าง แฟ้มใหม่
        
         ข้อเสีย
1. เสียเวลาในการปรับปรุงในกรณีที่มีรายการ ปรับปรุงน้อยเพราะจะต้องอ่านทุกรายการจนกว่า จะถึงรายการที่ต้องการปรับปรุง
2. ต้องมีการจัดเรียงข้อมูลที่เข้ามาใหม่ให้อยู่ในลำดับ เดียวกันในแฟ้มข้อมูลหลักก่อนที่จะประมวลผล

http://irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Database/database2.htm

    2. การจัดระเบียนแฟ้มข้อมูลแบบตรงหรือแบบสุ่ม (Direct or random file organization) โดยส่วนมากมักจะใช้จานแม่เหล็ก (Hard disk) เป็นหน่วยเก็บข้อมูล การบันทึกหรือการเรียกข้อมูลขึ้นมาสามารถเรียกได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านรายการอื่นก่อน เราเรียกวิธีนี้ว่าการเข้าถึงข้อมูลโดยตรง (Direct access) หรือการเข้าถึงโดยการสุ่ม (Random Access) การค้นหาข้อมูลโดยวิธีนี้จะเร็วกว่าแบบตามลำดับ ทั้งนี้เพราะการค้นหาจะกำหนดดัชนี (Index) จะนั้นจะวิ่งไปหาข้อมูลที่ต้องการหรืออาจจะเข้าหาข้อมูลแบบอาศัยดัชนีและเรียงลำดับควบคู่กัน (Indexed Sequential Access Method (ISAM) โดยวิธีนี้จะกำหนดดัชนีที่ต้องการค้นหาข้อมูล เมื่อพบแล้วต้องการเอาข้อมูลมาอีกกี่ รายการก็ให้เรียงตามลำดับของรายการที่ต้องการ ซึ่งการเก็บโดยวิธีนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย

       ข้อดี
1. สามารถบันทึก เรียกข้อมูล และปรับปรุงข้อมูลที่ ต้องการได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านรายการที่อยู่ก่อนหน้า
2. ประหยัดเนื้อที่ในการเก็บ และง่ายต่อการสร้าง แฟ้มใหม่

      ข้อเสีย
1. เสียเวลาในการปรับปรุงในกรณีที่มีรายการ ปรับปรุงน้อยเพราะจะต้องอ่านทุกรายการจนกว่า จะถึงรายการที่ต้องการปรับปรุง

2. ต้องมีการจัดเรียงข้อมูลที่เข้ามาใหม่ให้อยู่ในลำดับ เดียวกันในแฟ้มข้อมูลหลักก่อนที่จะประมวลผล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น