เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์



ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์(Computer) หมายถึง อุปกรณ์อิเลคทรอนิกที่ใช้ในการจัดการข้อมูลที่มีหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล (คำนวณและตรรกะ) แล้วนำข้อมูลไปเก็บไว้ในหน่วยความจำ (Memory Unit) และนำข้อมูลออกมาแสดงผลทางหน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Unit)
คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ คือ คอมพิวเตอร์มีความสามารถในการเก็บข้อมูลไว้ได้เป็นจำนวนมากและสามารถเรียกมาใช้งานได้เมื่อต้องการสามารถนำไปใช้กับงานได้ดังนี้
-          งานคำนวณที่สลับซับซ้อนมาก เช่น สูตรทางคณิตศาสตร์
-          งานที่มีปริมาณข้อมูลเป็นจำนวนมาก เช่น การคำนวณภาษีเงินได้
-          งานที่ต้องทำเป็นประจำ เช่น การค้นหาประวัติลูกค้า การทำบัญชีรายวัน
-          งานที่ต้องการความถูกต้องสูง เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำตามคำสั่งได้อย่างแม่นยำ
องค์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์
แบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือ เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และเทคโนโลยีซอฟต์แวร์
1.       เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์
ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 5 ส่วน คือหน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำหลัก หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง และหน่วยแสดงผล

การจัดการข้อมูลในคอมพิวเตอร์
การเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์นั้น ข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์พิเศษอื่น ๆ จะถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ กล่าวคือ ข้อมูลที่จัดเก็บจะมีลักษณะเป็นสัญญาณดิจิตอล ซึ่งลักษณะการแทนข้อมูลต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์นั้นจะใช้รหัสของเลขฐานสอง (Binary number) ประกอบด้วยเลข 2 ตัว คือ 0 และ 1 (0 แทนสัญญาณปิดและแทนสัญญาณเปิด) โดยจะนำตัวเลข 0 และ 1 มาประกอบกันเป็นชุดเพื่อใช้แทนตัวอักษร ตัวเลขและสัญลักษณ์ต่าง ๆ
ตัวเลข 0 และ 1 ของระบบเลขฐานสองแต่ละตัวจะมีหน่วยเรียกว่าบิต (bit) ซึ่งมาจากคำว่า Binary digit การนำตัวเลข 0 และ 1 เขียนเป็นชุดเพื่อแทนอักขระต่าง ๆ โดยทั่วไปจะประกอบด้วยตัวเลข 0 หรือ 1 จำนวน 8 บิต เรียงกัน เป็นหน่วยใหญ่ขึ้น เรียกว่า ไบต์ (byte) แต่ละไบต์จะสามารถแทนตัวอักษร ตัวเลขหรือสัญลักษณ์ได้ 1 ตัว
หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)
ซีพียู (CPU) เป็นคำย่อของ central processing unit ซึ่งเป็นชิปซิลิกอน (silicon chip) หรือ วงจรรวม (integrated circuit หรือ IC) ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ หน่วยควบคุม (control unit)และหน่วยคำนวณและตรรกะ (arithmetic/logic unit หรือ ALU) ดังมีรายละเอียดดังนี้

                         

·     หน่วยควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทุกส่วน เช่น ส่วนรับ
ข้อมูล ประมวลผล แสดงผล การจัดเก็บข้อมูล ถือเป็นหัวใจหลักของระบบคอมพิวเตอร์
·     หน่วยคำนวณและตรรกะ ทำหน้าที่คำนวณทางคณิตศาสตร์ (เช่น บวก ลบ คูณ หาร) และเปรียบเทียบทางตรรกะของข้อมูล (เช่น มากกว่า น้อยกว่า หรือเท่ากับ)
การทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง จะมีรีจีสเตอร์ (register) ซึ่งเป็นแหล่งเก็บข้อมูลชั่วคราวที่ช่วยให้ซีพียูสามารถดึงข้อมูลไปประมวลผลได้เร็วกว่าหน่วยความจำธรรมดา

หน่วยความจำหลัก (MAIN MEMORY UNIT)

เป็นวงจรรวมหรือชิปที่ใช้บันทึกโปรแกรมและข้อมูล หน่วยความจำหลักจะบรรจุอยู่บนเมนบอร์ดหรือแผงวงจรหลัก หน่วยความจำบางประเภทก็ถูกออกแบบให้อยู่ในชิปซีพียูเลย
หน่วยของข้อมูลที่จัดเก็บในหน่วยความจำเรียกว่า ไบต์ (byte) ซึ่ง 1 ไบต์ จะประกอบไปด้วย 8 บิต มีหน่วยเป็นกิโลไบต์ (kilobyte หรือ KB) ซึ่งมีค่าที่เท่ากับ1,024 ไบต์เมกะไบต์ (megabyte หรือMB) มีค่าโดยประมาณหนึ่งล้านไบต์ หรือ 1,024 KB, กิกะไบต์ (gigabyte หรือ GB) มีค่าประมาณหนึ่งพันล้านไบต์หรือหนึ่งล้านกิโลไบต์ และเทราไบต์ (terabyte หรือ TB) มีค่าประมาณหนึ่งล้านล้านไบต์ 
หน่วยความจำหลักที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมี 3 ประเภท คือ แรม (RAM) รอม (ROM) และซีมอส (CMOS) 

1.  แรม (RAM)  Random access memory หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม หรือหน่วยความจำชั่วคราว) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร
              
2. รอม (ROM) Read-only memory หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้ เป็นหน่วยความจำที่มีซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกเช่น
- เก็บโปรแกรมไบออส (BIOS) หรือเฟิร์มแวร์ ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
- ใช้เก็บโปรแกรมการทำงานสำหรับเครื่องคิดเลข
- ใช้เก็บโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่ทำงานเฉพาะด้าน เช่น ในรถยนต์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมวงจร ควบคุมในเครื่องซักผ้า เป็นต้น

                    

3. หน่วยความจำ CMOS ย่อมาจาก Computer Metal-oxide Semiconductor เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อสนเทศที่ใช้เป็นประจำของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ประเภทของแป้นพิมพ์ เม้าส์ จอภาพ และเครื่องอ่านแผ่นดิสก์ CMOS ใช้กระแสไฟจากแบตเตอรี่ ดังนั้นเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อสนเทศใน CMOS จึงไม่สูญหาย
หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
หมายถึง กระบวนการป้อนข้อมูล คำสั่ง โปรแกรมเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนการโต้ตอบของผู้ใช้โปรแกรมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมถึงอุปกรณ์ซึ่งสามารถป้อนข้อมูลและคำสั่ง หรือโปรแกรมเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ 
อุปกรณ์รับข้อมูล (Input Devices) สามารถจำแนกได้เป็น 6 ประเภท ดังนี้
1. อุปกรณ์แบบกด ได้แก่ แป้นพิมพ์ หรือ keyboard แป้นพิมพ์เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก ๆ ดังนี้
· แป้นอักขระ
· แป้นตัวเลข
             · แป้นฟังก์ชั่น
· แป้นลูกศร
· แป้นควบคุม
2. อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งและวาดรูป เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมการทำงานของตัวชี้ตำแหน่ง (pointer) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ทำงานอยู่บนจอภาพคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
· เมาส์ ทำงานผ่านสายเคเบิ้ล ปัจจุบันจะมีเมาส์ชนิดไร้สายติดต่อกับคอมพิวเตอร์ โดยใช้แสงอินฟาเรดและคลื่นสัญญาณ และบางชนิดมีแท่งชี้ควบคุมอยู่บนตัวเมาส์

· ลูกกลมควบคุม เป็นอุปกรณ์ชี้ตำแหน่งคล้ายเมาส์ ต่างกันที่ลูกบอล จะอยู่ด้านบน

· แผ่นสัมผัส เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมระนาบที่ใช้การเคลื่อนไหวของนิ้วมือ เพื่อควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวชี้ตำแหน่ง นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาเช่นเดียวกับ track point

· จอยสติก ใช้ควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวชี้ตำแหน่งเหมือนเมาส์ แต่จอยสติกจะมีปุ่มกดเพิ่มเติมเพื่อสั่งงานเฉพาะอย่าง ขึ้นอยู่กับชนิดของโปรแกรมที่ใช้ นิยมใช้เล่นเกม คอมพิวเตอร์

· ปากกาแสง ใช้สัมผัสกับจอภาพ เพื่อใช้ชี้ตำแหน่งและวาดข้อมูล นิยมใช้กับงานออกแบบ

· Digitizer ทำหน้าที่แปลงข้อมูล (อ่านพิกัดที่เป็นเส้นตรง เส้นโค้ง ภาพวาด ให้เป็นสัญญาณดิจิตอล แล้วถ่ายทอดสัญญาณไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์

· Graphics tablet ทำงานลักษณะเดียวกับ digitizer ต่างกันที่จะมีอักขระและคำสั่งพิเศษสำเร็จรูปอยู่บนแผ่น tablet นิยมใช้สำหรับงานออกแบบสถาปัตยกรรม

· จอภาพสัมผัส เป็นจอภาพชนิดพิเศษให้ผู้ใช้งานใช้นิ้วสัมผัสบนจอภาพเพื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบ เช่น การให้ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหารจานด่วน ตู้เกมตามศูนย์การค้า

· สมุดบันทึกคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยกระดาษโน้ตหรือกระดาษที่ใช้เขียนวางอยู่บนแผ่นอิเล็คทรอนิคส์ แล้วใช้งานร่วมกับปากกาชนิดพิเศษ

3. อุปกรณ์วาดข้อมูล  เป็นอุปกรณ์เพื่อใช้บันทึกข้อความ ภาพวาด หรือสัญลักษณ์พิเศษอื่น ๆ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยมีหลักการทำงาน คือ อุปกรณ์จะทำการแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปของสัญญาณดิจิตอลที่สามารถนำไปประมวลผลแสดงผลบนจอภาพได้ ได้แก่
· สแกนเนอร์ (scanner) ทำการแปลงข้อความหรือภาพจากเอกสารต้นฉบับให้อยู่ในรูปของข้อมูลดิจิตอล สามารถจัดเก็บและประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ได้

· เครื่องอ่านรหัสบาร์โค้ด ประกอบด้วยเส้นตรงแนวตั้งและช่องว่างที่มีขนาดแตกต่างกัน ปกตินิยมใช้พิมพ์หรือติดบนผลิตภัณฑ์ หรือพิมพ์เป็นฉลากเพื่อติดกับผลิตภัณฑ์

· เครื่องอ่านเครื่องหมายด้วยแสงใช้สำหรับประมวลผลข้อมูลจากแบบสอบถาม หรือกระดาษคำตอบคอมพิวเตอร์

· เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง สามารถอ่านอักขระจากเอกสารประเภทต่าง ๆ เช่น เอกสารจากลายมือ เอกสารที่พิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์
· เอ็มไอซีอาร์ ย่อมาจาก magnetic ink character recognition device เป็นอุปกรณ์เพื่อรับข้อมูลและประมวลผลข้อความ เช่น เช็ค นิยมใช้ในงานธนาคาร

· กล้องดิจิตอล มีลักษณะคล้ายกับกล้องที่ใช้ถ่ายรูปโดยทั่วไป แตกต่างกันที่กล้องดิจิตอลจะเก็บภาพในรูปแบบของข้อมูลดิจิตอล บนแผ่นดิสก์หรือในหน่วยความจำแทนที่จะเก็บภาพไว้ในรูปแบบของฟิล์ม


4.หน่วยแสดงผลข้อมูล ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลข้อมูล (data) ได้แก่
· จอภาพคอมพิวเตอร์ ลักษณะคล้ายจอโทรทัศน์ แต่เดิมมอร์นิเตอร์และเทอร์มินัล เรียกกันว่า ซีอาร์ที ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับงานพิมพ์ตั้งโต๊ะ งานกราฟิก และงานวิศวกรรม เป็นต้น ลักษณะที่สำคัญของจอภาพคอมพิวเตอร์มี 2 ประการ คือ ความละเอียด และจำนวนสีในการแสดงผล ลักษณะความละเอียดของภาพจะขึ้นอยู่กับจำนวนจุด บนจอภาพที่เรียกว่า พิกเซล

· จอภาพชนิดแบน นิยมใช้กับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก และปัจจุบันนิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะด้วย
· เครื่องพิมพ์ สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือเครื่องพิมพ์แบบกระทบ และเครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบ

- เครื่องพิมพ์แบบกระทบ ใช้หัวเข็มกระทบให้แถบผ้าหมึกพิมพ์อักขระบนกระดาษ นิยมใช้กับกระดาษแบบต่อเนื่อง

- เครื่องพิมพ์แบบจุด (มีราคาไม่สูงนัก คุณภาพงานพิมพ์ไม่ละเอียดมากนัก มีเสียงกระทบของหัวเข็มที่ค่อนข้างดังในขณะพิมพ์ นิยมใช้กับงานที่มีการพิมพ์แบบสำเนา

เครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบ เป็นการพิมพ์ที่ใช้หมึกฉีดพ่นไปบนกระดาษหรือใช้ความร้อนและความดัน เพื่อละลายผงหมึกให้เป็นลักษณะของอักขระ เครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 3 ชนิด คือ เครื่องพิมพ์ฉีดหมึก เครื่องพิมพ์เลเซอร์ และเครื่องพิมพ์ความร้อน

เครื่องพิมพ์ฉีดหมึก จะฉีดน้ำหมึกเล็ก ๆ ด้วยความเร็วสูงไปบนผิวหน้าของกระดาษ ปัจจุบันมีตลับหมึกแยกเป็นตลับหมึกสีดำ และตลับหมึกสี ขณะพิมพ์เสียงจะเงียบ ราคาไม่แพง ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์และงานด้านโฆษณา

เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เป็นการใช้เทคโนโลยีที่คล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร โดยจะใช้แสงเลเซอร์สร้างประจุไฟฟ้า และผงหมึกหรือโทนเนอร์สร้างภาพและอักขระที่มีคุณภาพสูงพิมพ์ลงบนกระดาษ ราคาของเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะสูงกว่าเครื่องพิมพ์ฉีดหมึก

· เครื่องพลอตเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่พิมพ์ภาพลายเส้นที่มีความละเอียดสูง เช่น แผนที่ ผังอาคาร แผงวงจรอิเล็คทรอนิกส์ ภาพเหล่านี้เป็นภาพขนาดใหญ่ สามารถพิมพ์ได้ถึง 40-48 นิ้ว


2.       เทคโนโลยีซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์(Software) หมายถึง ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออาจเรียกว่า “โปรแกรม” ก็ได้ ซึ่งหมายถึงคำสั่งหรือชุดคำสั่ง สามารถใช้เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เราต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรก็เขียนเป็นคำสั่งที่จะต้องสั่งเป็นขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วนก็จะเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (Programmer) สำหรับการเขียนโปรแกรมดังกล่าวใช้ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะ หรือหมายถึง ภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาเบสิก ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาก็จะนำไปใช้ในงานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมสต็อกสินค้าคงคลัง โปรแกรมคำนวณภาษี โปรแกรมคิดเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น

ประเภทของซอฟต์แวร์
                ซอฟต์แวร์จะแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ(System Softwaer) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Softwaer) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
 1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Softwaer)
             หมายถึง โปรแรกมที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่างและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นโปรแกรมตามหน้าที่การทำงานดังนี้
1.1  OS (Operating System) คือ โปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานส่วนต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ควบคุมหน่วยความจำ ควบคุมหน่วยประมวลผล ควบคุมหน่วยรับและควบคุมหน่วยแสดงผล ตลอดจนแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงที่สุด และสามารถใช้อุปกรณ์ทุกส่วนของคอมพิวเตอร์และช่วยจัดการกระบวนการพื้นฐานที่สำคัญ ๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นการเปิด หรือปิดไฟล์ การสื่อสารกันระหว่างชิ้นส่วนต่าง ๆ ภายในเครื่อง การส่งข้อมูลออกสู่เครื่องพิมพ์หรือสู่จอภาพ เป็นต้น ก่อนที่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะสามารถอ่านไฟล์ต่าง ๆ หรือสามารถใช้ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ได้จะต้องผ่านการดึงระบบปฏิบัติการออกมาฝังตัวอยู่ในหน่าวความจำก่อน ปัจจุบันนี้มีโปรแกรมระบบบอยู่หลายตัวด้วยกันซึ่งแต่ละตัวนั้นก็เป็นโปรแกรมระบบปฏิบัติการเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ลักษณะการทำงานจะไม่เหมือนกัน ดังนี้
                                 DOS (Disk operating System) เป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมาตั้งแต่ในอดีตออกมาพร้อมกับเครื่องพีซีของไอบีเอ็มรุ่นแรก ๆ จากนั้นก็มีการพัฒนารุ่นใหม่ออกมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงเวอร์ชั่นสุดท้ายคือ เวอร์ชั่น 6.22 หลังจากที่มีการประกาศใช้วินโดวส์ 95 ก็คงจะไม่ผลิต DOS เวอร์ชชั่นใหม่ออกมาแล้ว โดยทั่วไปจะนิยมใช้วินโดวส์ 3.ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมเสริมชนิดหนึ่งที่ใช้ในดอส
                                 UNIX เป็นระบบ OS ที่สามารถใช้ร่วมกันได้หลายคน (Multiuser) หรือเป็นระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย โดยที่ผู้ใช้แต่ละคนจะต้องมีชื่อและพาสเวิร์ดส่วนตัว และสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ทั่วโลก โดยผ่านทางสายโทรศัพท์และมี Modemเป็นตัวกลางในการรับส่งข้อมูลหรือโอนย้ายข้อมูล นิยมใช้อย่างแพร่หลายในมหาวิทยาลัย หน่วยงานรัฐบาล หรือบริษัทเอกชนที่มีระบบคอมพิวเตอร์ใหญ่ ๆ ใช้ ในระบบยูนิกซ์เองก็มีวินโดวส์อีกชนิดหนึ่งใช้เรียกว่า X Windows สำหรับผู้ที่ต้องการใช้ระบบยูนิกซ์ในเครื่องพีซีที่บ้านก็มีเวอร์ชั่นสำหรับพีซีเรียกว่า Linux ซึ่งจะมีคำสั่งพื้นฐานคล้าย ๆ กับระบบยูนิกซ์
                                 LAN เป็นระบบปฏิบัติการแบบเครือข่ายเช่นเดียวกัน แต่จะใช้เชื่อมโยงกันในระยะใกล้ ๆ เช่น ในอาคารเดียวกันหรือระหว่างอาคารที่อยู่ใกล้กัน โดยใช้สายLan เป็นตัวเชื่อมโยง
                                 WINDOWS เป็นระบบปฏิบัติการที่กำลังนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ซึ่งพัฒนามาถึงรุ่น Windows 2000 แล้ว บริษัทไมโครซอฟต์ได้เริ่มประกาศใช้ MS Windows 95 ครั้งแรกเมื่อ 24 สิงหาคม ค.ศ.1995 โดยมีความคิดที่ว่าจะออกมาแทนMS-DOS และ วินโดวส์ 3.ที่ใช้ร่วมกันอยู่ ลักษณะของวินโดวส์ 95 จึงคล้ายกับเป็นระบบโอเอสที่มีทั้งดอสและวินโดวส์อยู่ในตัวเดียวกัน แต่เป็นวินโดวส์ที่มีลักษณะพิเศษกว่าวินโดวส์เดิม เช่น มีคุณสมบัติเป็น Plug and play ซึ่งสามารถจะรู้จักฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องได้โดยอัตโนมัติ มีลักษณะเป็นระบบ 32 บิต ในขณะที่วินโดวส์ เดิมเป็นระบบ 16 บิต เป็นต้น บริษัทไมโครซอฟต์ไม่ได้หยุดเพียงแค่วินโดวส์ 95 แต่ได้มีการพัฒนาเพิ่มฟังก์ชันใหม่ ๆ เข้าไป ในที่สุดก็ออกระบบโอเอสตัวถัดมาเป็น MS Windows 98 และ MS Windows 2000 ตามลำดับโดยที่มีการติดตั้ง และการใช้งานที่มีพื้นฐานไม่แตกต่างกันมากนัก จึงง่ายสำหรับผู้ใช้ในการปรับตัวเข้ากับระบบโอเอสใหม่ ๆ
                                 Windows NT เป็นระบบ  OS ที่ผลิตจากบริษัทไมโครซอฟต์เช่นเดียวกัน เป็นระบบ 32 บิต มีรูปลักษณ์เป็นกราฟิกที่ต้องใช้เมาส์คล้ายกับวินโดวส์ทั่วไป แต่นิยมใช้ในระบบเวิร์กสเตชันมากกว่าในเครื่องพีซีทั่ว ไป
                                 OS/2 เป็นระบบ OS ที่ผลิตออกมาจากบริษัท IBM เป็นระบบ 32 บิต ที่มีรูปลักษณ์เป็นกราฟฟิกที่ต้องใช้เมาส์ คล้ายกับวินโดวส์ทั่วไปเช่นกัน

1.2 Translation Program คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการแปลโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่เขียนด้วยภาษาที่ไม่ใช่ภาษาเครื่อง หรือภาษาเครื่องที่ไม่เข้าใจให้เป็นภาษาที่เครื่องสามารถรู้เรื่องเข้าใจ และนำไปปฏิบัติได้ เช่น  ภาษา BASIC ,COBOL,C, PASCAL, FORTRAN, ASSEMBLY เป็นต้น สำหรับตัวแปลนั้นจะมี 3 แบบคือ
    Assembler เป็นโปแกรมที่ใช้แปลภาษาแอสแซมบลี ซึ่งมีลักษณะการแปลทีละคำสั่ง เมื่อทำตามคำสั่งนั้นเสร็จแล้ว ก็จะแปลคำสั่งถัดไปเรื่อย ๆ จนจบ
    Interpreter เป็นโปรแกรมที่ใช้แปลภาษาเบสิก โดยจะแปลทีละคำสั่งแล้วทำตามคำสั่งนั้น แล้วแปลต่อไปเรื่อย ๆ จนจบโปรแกรม
    Compiler เป็นโปรแกรมที่ใช้แปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ซึ่งจะแปลทั้งโปรแกรมให้เสร็จก่อน จากนั้นจึงจะปฏิบัติตามคำสั่งทีละคำสั่ง

1.3  Utility Program คือ โปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ให้สามารถทำงานได้สะดวก รวดเร็วและง่ายขึ้น เช่น โปรแกรมที่ใช้ในการเรียงลำดับข้อมูล โปรแกรมโอนย้ายข้อมูลจากชนิดหนึ่งไปยังอีกชนิดหนึ่ง โปรแกรมรวบรวมข้อมูล 2  ชุดเข้าด้วยกัน โปรแกรมคัดลอกข้อมูลเป็นต้น
1.4       Diagnostic Program คือ โปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อผิดพลาดในการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ โปแกรม QAPLUS โปรแกรมNORTON เป็นต้น และเมื่อพบข้อผิดพลาดก็จะแจ้งขึ้นบนจอภาพให้ทราบ

2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Softwaer)
หมายถึง โปรแกรมที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นผู้เขียนมาใช้งานเอง เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ต้องการ ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
2.1 User Program  คือ โปรแกรมที่ผู้ใช้เขียนมาใช้เอง โดยใช้ภาษาระดับต่าง ๆ ทางคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษา BSDIC, COBOL, PSDCSL, C, ASSEMBLY FORTRAN ฯลฯ ซึ่งการที่จะเลือกใช้ภาษาใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของงานเหล่านั้นด้วย เช่น โปรแกรมระบบบัญชีโปแกรมควบคุมสต็อกสินค้าโปแกรมแฟ้มทะเบียนประวัติ โปรแกรมคำนวณภาษี,โปรแกรมคิดเงินเดือน เป็นต้น

2.2 Package Program คือ โปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งเป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างหรือเขียนขึ้นมาโดยบริษัทต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมที่จะนำไปใช้งานต่าง ๆ ได้ทันทีตัวอย่างเช่น
                                  Word Processor โปรแกรมที่ช่วยในการทำเอกสาร พิมพ์งานต่าง ๆ เช่น เวิร์ดจุฬาเวิร์ดราชวิถี, Microsoft Word, WordPerfect, AmiPro เป็นต้น
                                  Spreadsheet โปรแกรมที่ใช้ในการคำนวณข้อมูล มีลักษณะเป็นตาราง เช่น Lotus 1-2-3, Microsoft Excel เป็นต้น
                                  Database โปรแกรมที่ใช้ในการทำงานทางด้านฐานข้อมูลจะใช้เก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่มีขนาดใหญ่ และมีข้อมูลเป็นจำนวนมาก เช่น dBASE lll Plis, Foxbase,   Microsoft Access, foxpro, Visual Foxpro เป็นต้น
                                   โปรแกรมที่ใช้ในการทำงานทางด้านการสร้างรูปภาพและกราฟฟิกต่าง ๆ รวมทั้งงานทางด้านสิ่งพิมพ์ การทำโบรชัวร์ แผ่นพับ นามบัตร เช่น CorelDraw, Photoshop, Harvard Graphic, Freelance Graphic, PowerPoint, PageMaker เป็นต้น

จากข้างต้นเป็นตัวอย่างของ Package Program ที่นิยมใช้งานกันในปัจจุบัน ที่จริงแล้วPackage Program สามารถแบ่งออกได้เป็น 9 ประเภทด้วยกัน สำหรับรายละเอียดของโปรแกรมแต่ละประเภทนั้น มีรายละเอียดดังนี้

1.               โปรแกรมทางด้าน Word Processor
โปรแกรมทางด้าน Word Processor นั้น เป็นโปรแกรมที่ทำงานเกี่ยวกับทางด้านการประมวลผลคำ สามารถจัดทำเอกสาร รายงาน จดหมาย หนังสือต่าง ๆ ได้ ทำให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพ สวยงาม เนื่องจากสามารถจัดรูปแบบงานตามต้องการได้รวมทั้งยังแก้ไขงานที่ทำได้ด้วย อีกทั้งยังช่วยประหยัดเวลาในการแก้ไขงาน และสามารถค้นหาข้อความต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก

โปรแกรมที่จัดอยู่ในกลุ่ม Word Processor มีดังนี้ คือ WordStat, ราชวิถีเวิร์ด เวิร์ดจุฬา โปรแกรมเหล่านี้จะเป็นโปรแกรมที่ทำงานบน Dos นอกจากนั้นยังมีโปรแกรมที่ทำงานบนวินโดวส์อีกด้วย คือ Word Perfect, Microsoft Word และAmiPro โปรแกรมเหล่านี้จะใช้งานง่าย สะดวก สามารถจัดรูปแบบต่าง ๆ ได้ตามต้องการ รวมทั้งสามารถนำภาพมาประกอบกับงานเอกสาร หรือนำเอกสารจากโปรแกรมอื่นมาจัดรูปแบบในโปรแกรมเหล่านี้ก็ได้

2.               โปรแกรมทางด้าน Spreadsheet
โปรแกรมทางด้าน Spreadsheet เป็นโปรแกรมที่มีลักษณะเป็นกระดาษทำการขนาดใหญ่ หรือ เรียกว่า Worksheet ประกอบด้วยส่วนที่เป็น Row หรือแถวตามแนวนอนและส่วนที่เป็น Column หรือแถวตามแนวตั่ง ซึ่งใช้ในด้านการคำนวณเป็นส่วนมาก นอกจากนั้นยังมีการนำเสนอข้อมูลออกมาในรูปของกราฟโดยสร้างเป็นกราฟ 2 มิติและ 3 มิติได้อีกด้วย โปรแกรม Spreadsheet เหมาะกับการทำงานในด้านการบัญชี การเงิน การวิเคราะห์ข้อมูล หรืองานการคิดคะแนนและเกรดของนักศึกษา เป็นต้น

สำหรับโปแกรมที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ โปรแกรม Lotus ซึ่งมีทั้งที่ทำงานบน Dos และบน Windows, โปรแกรม Microsoft Excel โปรแกรมเหล่านี้สามารถจัดรูปแบบตัวอักษรและกำหนดขนาดตัวอักษร รวมทั้งสามารถตีกรอบ สร้างตารางระบายสีลงในเซลล์ต่าง ๆ ได้ นอกจากนั้นยังสามารถนำรูปกราที่สร้างไว้มารวมกับข้อมูลที่อยู่ใน Worksheet เดียวกันได้ ทำให้ได้งานที่สมบูรณ์ขึ้น

3.               โปรแกรมทางด้าน Database
โปรแกรมประเภทนี้เป็นโปรแกรมที่ทำงานทางด้านการจัดการฐานข้อมูล ช่วยจัดเก็บข้อมูล แก้ไข ค้นหา เพิ่มเติม รวมทั้งการจัดเรียงข้อมูล ทำให้ผู้ใช้สะดวกรวดเร็วสามารถทำงานได้เป็นระบบ โปรแกรม Database เหมาะกับการทำงานที่มีข้อมูลมาก ๆ เช่น การเก็บสต็อกสินค้าคงคลัง การเก็บประวัติพนักงาน การเก็บรายชื่อนักศึกษาในโรงเรียน การเก็บรายชื่อหนังสือในห้องสมุด เป็นต้น
โปแกรมที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ โปรแกรม dBase lll Plus ซึ่งทำงานบน Dos โปรแกรมFoxpro ซึ่งมีหน้าที่ทำงานบน Dos และบน Windows, โปรแกรม Microsoft Access และในปัจจุบันมีโปรแกรม Visual Foxpro ซึ่งเป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่ทำงานบน Windows เช่นกัน

4.               โปรแกรมทางด้าน Graphic
โปรแกรม Graphic ส่วนมากแล้วจะเกี่ยวกับทางด้านงานออกแบบ เขียนแบบวาดภาพ จัดทำสิ่งพิมพ์และจะเป็นทางด้านการนำเสนองาน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานโฆษณา ทำ Slide Show หรือนำไปใช้กับระบบ Multimedia ได้ ปัจจุบันโปรแกรมกลุ่มนี้เป็นที่นิยมมาก

สำหรับโปรแกรมที่ทำงานทางด้าน Graphic นั้น มีอยู่หลายโปรแกรมและแต่ละโปรแกรมนั้น ส่วนใหญ่จะทำงานคล้ายกัน แต่มีบางคำสั่งที่แตกต่างกันไปดังนี้
    CorelDraw และ Photoshop จะทำเกี่ยวกับงานออกแบบ วาดภาพ จัดทำ สิ่งพิมพ์ ตกแต่งภาพให้สวยงาม เหมาะกับงานทางด้านโฆษณา
    Harvard Graphic, Freelance Graphic และ PowerPoint เหมาะกับงานที่ต้องการนำเสนอ หรือแสดงออกโดยการสร้าง Slide Show สามารถนำภาพและเสียงมาประกอบกับงานได้ ทำให้ได้ Presentation ที่สวยงามออกมา
    PageMakerเหมาะกับงานประเภทสิ่งพิมพ์ ใช้สร้างโบรชัวร์ แผ่นพับ ใบปลิว นามบัตร และการทำหนังสือ โปรแกรมที่นิยมใช้กับโรงพิมพ์มาก


5.               โปรแกรมเกม (Game)
เป็นโปรแกรมที่แพร่หลายเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ และปัจจุบันนี้มีโปรแกรมเกมต่าง ๆ มากมาย ทั้งแบบธรรมดาและแบบ 3 มิติ ซึ่งที่จริงแล้วโปรแกรมเกมส่วนใหญ่จะสร้างขึ้นมา เพื่อช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดในการทำงานแต่ละส่วนใหญ่แล้วจะพบว่าเด็กจะเล่น เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินมากกว่า ผู้ใหญ่ควรควบคุมเกมที่เด็ก ๆเล่นด้วย เพราะบางเกมเป็นลักษณะของการต่อสู้ เพื่อให้เกิดชัยชนะ ซึ่งจะทำให้เด็กสร้างนิสัยผิด ๆ กลายเป็นเด็กที่ชอบเอาชนะคนอื่นชอบการต่อสู้ และอาจเป็นคนดุร้าย เห็นแก่ตัวได้

                   โปรแกรมทางด้านการสร้างสถานการณ์จำลอง
เป็นโปรแกรมที่ให้ผู้เล่นได้ทดลองสร้างสถานการณ์จำลองของงานที่อาจจะเกิดขึ้นได้หรืออาจจะเรียกว่า เกมส์ทางธุรกิจ โดยให้ผู้เล่นได้รู้จักวางแผนในการทำงาน คิดถึงผลกำไรขาดทุนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ รู้จักจัดสรรงบประมาณที่มีอยู่ให้ได้ผลกำไรมากที่สุด  

                   โปรแกรมทางด้านการติดต่อสื่อสาร
เป็นโปรแกรมที่มักนิยมใช้ตามสำนักงานต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชนในการนัดหมายประชุม การทำจดหมายเวียนไปตามฝ่าย ต่าง ๆ โดยการเก็บข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์แทนที่จะพิมพ์ออกมาทางกระดาษ เพื่อแจ้งให้พนักงานทราบ ข้อดีของโปรแกรมชนิดนี้คือ ทำให้ประหยัดกระดาษลงไปได้มาก

                  โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
โปรแกรมประเภทนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า CAI (Computer Assisted Instruction) เป็นโปรแกรมที่นำมาสอนให้กับนักเรียนในวิชาต่าง ๆ โดยที่นักเรียนจะเรียนกับโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์และครูเป็นผู้ชี้แนะ ทดสอบ และวัดความเข้าใจ รวมทั้งสรุปเนื้อหาที่นักเรียนได้เรียนจากโปรแกรม CAI นี้ ปัจจุบันโปรแกรมประเภทนี้เริ่มนำเข้ามาใช้ในโรงเรียนแพร่หลายมากขึ้น เพราะทุกโรงเรียนมีคอมพิวเตอร์ใช้ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนของครูวิธีหนึ่ง ที่ทำให้นักเรียนไม่รู้สึกเบื่อ และสนใจการเรียนมากขึ้นด้วย

สำหรับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จะใช้สร้างโปรแกรม CAI นั้นได้แก่ โปรแกรมAuthorware และโปรแกรม ToolBook เป็นต้น

            โปรแกรมทางด้านการออกแบบ
โปรแกรมนี้ได้เข้ามาช่วยออกแบบงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานทางด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม และงานออกแบบสินค้าต่างๆ ซึ่งสามารถสร้างได้ทั้งแบบที่เป็นภาพ 2  มิติ และภาพ 3 มิติ
สำหรับโปรแกรมทางด้านออกแบบที่นิยมใช้กันแพร่หลาย ได้แก่ โปรแกรมAutoCAD ใช้กับงานออกแบบ เขียนแบบ ทั้งแบบ 2มิติ เขียนวงจรไฟฟ้า เหมาะกับนักสถาปนิก นักออกแบบตกแต่ง วิศวกรไฟฟ้า นอกจากนั้นยังมีโปรแกรมอื่นที่ใช้ร่วมกับAutoCAD ได้อีกด้วย คือ โปรแกรม 3D Studio




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น